จากสถานะการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในหลายๆด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงาน โดยเราต้องหลีกเลี่ยงการเดินทาง หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในเรื่องการทำงานในองค์กรจึงเป็นปัญหาเกิดขึ้นอย่างมาก เพราะเราจำเป็นต้องติดต่อสื่อสาร นัดหมายการประชุม ดำเนินธุรกิจ ดังนั้น องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนล้วนต้องปรับตัวในการทำงาน โดยการประชุมจะต้องเปลี่ยนเป็นการประชุมแบบ Online หรือการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อปฎิบัติตามนโยบาย Social Distancing ป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 แต่ยังมีการประชุมในบางวาระที่มีผลบังคับใช้ทางกฏหมาย ซึ่งมีข้อบังคับบัญญัติตามกฏหมาย ซึ่งบางข้อกำหนดยังไม่รองรับการประชุมผ่านช่องทาง Online เหล่านี้ได้ครอบคลุมมากพอในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดการเลือนประชุมไปก่อน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับประเทศ

บทความนี้เราขอพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกับกฎหมายเพื่อนำไปสู่แนวทางปฎิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ Log File ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เรา Softnix ให้ความสำคัญตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เราขอรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป โดยเริ่มจากข้อจำกัดของกฏหมาย ดังต่อไปนี้
บทบัญญัติไม่ครอบคลุมสถานะการณ์ปัจจุบัน
จากประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๔/๒๕๕๗ เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลง วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้มีการกําหนดความหมายของ “การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งมีทั้งขอบเขตการใช้บังคับให้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่าเรื่องใดที่ทำได้และเรื่องใดที่ทำไม่ได้ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนรับรองผลทางกฏหมายของการประชุมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีข้อกำหนดในเรื่องของผู้เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า จะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 1 ใน 3 ขององค์ประชุมจะต้องอยู่ในที่ประชุมแห่งเดียวกัน โดยผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการประชุม ซึ่งจากข้อกำหนดนี้กับสถานะการณ์ปัจจุบันเราไม่สามารถอยู่ร่วมกันในสถานที่เดียวกันได้ เช่น การทำงาน Work From Home เราต่างทำงานที่บ้าน และหน่วยงานเอกชนบางรายที่มีบางบุคคลอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางได้ เนื่องจากสถานะการณ์ปิดประเทศ จึงเป็นอุปสรรค
มาตรฐานของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จากประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ท่ีออกตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับท่ี ๗๔/๒๕๕๗ เรื่อง การประชุมผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันท่ี ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้การประชุมจะต้องมีกระบวนการควบคุมด้านความปลอดภัย โดยให้บันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ ของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการประชุม รวมทั้งข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือ Log File เพื่อเป็นหลักฐาน และจัดเก็บอยู่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่งคงและปลอดภัยเป็นที่น่าเชื่อถือ
จากข้อกำหนดดังกล่าวที่ไม่ครอบคลุมกับสถานะการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น จึงมีออกประกาศใหม่ เป็น “พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓” ลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ยกเลิก ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๔/๒๕๕๗ เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันท่ี ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมีพระราชกำหนดใหม่ในมาตรา ๔ ดังนี้
“การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประชุมท่ีกฎหมายบัญญัติให้ต้อง มีการประชุมท่ีได้กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ร่วมประชุมมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถ ประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๗ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๔) จัดให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณี ของผู้ร่วมประชุมทุกคน ตลอดระยะเวลาที่มีการประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่เป็นการประชุมลับ
(๕) จัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ร่วมประชุมทุกคนไว้เป็นหลักฐานข้อมูลตาม (๔) และ (๕) ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม
ส่วนมาตรฐานของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยังคงให้ใช้ตามมาตรฐานเดิมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกำหนดใหม่นี้ ดังระบุไว้ใน มาตรา ๑๒ ไว้ว่า
มาตรา ๑๒ ให้มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ท่ีออกตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับท่ี ๗๔/๒๕๕๗ เรื่อง การประชุมผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันท่ี ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ท่ีใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกำหนดนี้จนกว่า จะมีมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกตาม พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
คราวนี้เรามาดูกันว่า “ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗” มีอะไรสำคัญที่เราควรทราบบ้าง ใน วรรคที่ 2 หน้า 13 เขียนไว้ดังนี้
ให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณีของผู้ร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลา ที่มีการประชุม รวมทั้งข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากการบันทึกดังกล่าว ทั้งนี้ โดยบันทึก ในระบบควบคุมการประชุมหรือโดยระบบอื่นใด การบันทึกข้อมูลตามวรรคสองจะต้องบันทึกในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความมั่นคงปลอดภัยและด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ตามข้อกําหนดแนบท้ายประกาศนี้
จากข้อกำหนดดังกล่าวเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจข้อกําหนดแนบท้ายประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ เพิ่มเติม ซึ่งส่วนที่สำคัญที่เราควรทราบเพื่อปฎิบัติให้ถูกต้อง มีดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพของผู้ร่วม ประชุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) มีเทคโนโลยีหรือมาตรการป้องกันมิให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเกิดขึ้นกับข้อมูลนั้น เว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติในการ ติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงซึ่งไม่มีผลต่อความหมายของข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถยืนยันได้ ว่าได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อมูลตั้งแต่การสร้างจนเสร็จสมบูรณ์และสามารถ แสดงข้อมูลนั้นในภายหลังได้
(๒) ในกรณีที่มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพด้วยระบบควบคุมการประชุมให้มีวิธีการที่ เชื่อถือได้ในการระบุตัวตนผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมการประชุม เพื่อให้สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลที่ได้ บันทึกไว้ได้ดําเนินการโดยผู้มีสิทธิในการเข้าถึงเท่านั้น โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) การระบุตัวตน (Identification)
(๒) การยืนยันตัวตน (Authentication)
(๓) การอนุญาตเฉพาะผู้มีสิทธิเข้าถึง (Authorization) (๔) ความรับผิดชอบต่อผลของการกระทํา (Accountability)
ข้อ ๒ ในการบันทึกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากระบบควบคุมการประชุม ต้องมีการ กําหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการบันทึกข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้สามารถทราบข้อมูล เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิด ต้นทาง ปลายทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้นนอกจากนี้ใน การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ต้องใช้วิธีการที่มีความมั่นคงปลอดภัยด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ ดังต่อไปนี้
(๑) เก็บในสื่อ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) และระบุตัว บุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดังกล่าวได้
(๒) มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกําหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูล ดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และไม่ให้ทั้งผู้ควบคุมระบบและผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไข ข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือการทํา Data Archiving หรือทํา Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น
(๓) เพื่อให้ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มีความถูกต้องและนํามาใช้ประโยชน์ได้จริง ต้องตั้ง นาฬิกาของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล
จากที่กล่าวมานั้นคือ ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้เราทราบเป็นแนวทางปฎิบัติว่าจะทำอย่างไรให้ถูกต้อง คราวนี้เรามาทำความเข้าใจกับข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากระบบควบคุมการประชุมกันบ้างครับว่าในปัจจุบันเป็นอย่างไร มีปัญหาและความท้าทายในการปฎิบัติ อย่างไรดังต่อไปนี้
Work From Home ทำให้เราจัดเก็บ Log ยากขึ้น
จากข้อกำหนด เราต้องจัดเก็บ Log ของการประชุมผู้ร่วมประชุมทุกคน เพื่อเป็นหลักฐาน การดำเนินการเช่นนี้ทำได้ไม่ยาก ถ้าผู้ร่วมประชุมทุกคนอยู่ใน Network เดียวกัน เช่นในองค์กร เราสามารถเก็บบันทึก Log จากอปกรณ์เครือข่าย Gateway ได้ เช่น Firewall NAT, UTM Firewall ซึ่งข้อมูล Log มีข้อมูลที่ พ.ร.บ. กำหนด เช่น แหล่งกําเนิด ต้นทาง (Source IP) ปลายทาง (Destination IP) เวลา วันที่ (Timestamp) ปริมาณ ระยะเวลา (Duration) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงสำหรับ Work From Home คือ ทุกคนทำงานอยู่ที่บ้าน ใช้ Internet ที่บ้าน และบางคนอาจเชื่อมต่อ Internet ผ่านการแชร์จากโทศัพท์มือถือ ซึ่งยากต่อการควบคุมและจัดเก็บ Log
Software Application ระบบประชุม Online
ปัจจุบัน Software ระบบประชุม Online มีหลายชนิด ยกตัวอย่างที่นิยมเช่น Zoom, Cisco Webex, Microsoft Teams, Google Hangouts, Amazon Chime, GoToMeeting และอื่นๆมากมาย ซึ่ง Software ส่วนใหญ่เหล่านี้ให้บริการในลักษณะ Cloud Services ไม่อนุญาตให้เราเข้าถึงข้อมูล Log ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งบางผู้ให้บริการอนุญาตเข้าถึงข้อมูลในลักษณะ API ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ใช่ Developer

ทำความเข้าใจ Traffic Network สำหรับ Online Meeting
Software Online Meeting ส่วนใหญ่ใช้หลาย Protocols ด้วยกัน ซึ่งแต่ละ Application ใช้ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างดังตารางต่อไปนี้
MS Teams | Zoom Meeting | |
TCP | 80, 443 | 80, 443, 8801 |
UDP | 3478-3481 | 3478, 3479, 8801, 8802 |
จากตัวอย่าง หยิบยกมาเพียง 2 Application เราจะเห็นว่าใช้ Application Port ไม่เหมือนกัน แต่โดยส่วนใหญ่จะมีส่วนที่ทำงานบน TCP 80 และ 443 เกือบทั้งสิ้น แต่ถ้าหากจะเก็บ Log ของผู้ใช้ทั้ง 2 Port นี้ซึ่งน่าจะมากมายจนยากที่จะจัดเก็บและ Filter เนื่องจากทั้ง 2 Port คือ HTTP Port ที่เราใช้เป็นส่วนใหญ่
บันทึก Log ได้ครบถ้วนด้วย DNS Traffic Log
DNS Protocol คือ Internet Protocol ที่ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้และทุกเครือข่ายในองค์กรต้องอนุญาต Traffic นี้ทั้งสิ้น ดังนั้นการพิจารณาเก็บข้อมูล Log จาก DNS Traffic จึงมั่นใจได้ว่ามีข้อมูลที่เชื่อถือได้และครบถ้วนใช้เป็นหลักฐานได้
หลักการทำงานระบบรวบรวมข้อมูล DNS Traffic Log
สามารถทำได้อย่างง่ายดายโดยติดตั้ง Softnix Log Agent ที่เครื่องผู้ร่วมประชุม เพื่อทำการรวบรวม Traffic Log ที่เกิดขึ้นจาก Application Online Meeting เพื่อส่งไปเก็บบันทึกยังระบบ Centralized Log Server ดังตัวอย่างภาพแสดงการทำงาน

การจัดการข้อมูล
โดยปกติแล้ว DNS Traffic จะมีปริมาณค่อนข้างเยอะมาก ยากต่อการจัดการ แต่เนื่องจากคุณสมบัติของ Softnix Log Agent ที่ทีมงานพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสามารถ Filter เลือกเฉพาะ Domain ของ Application Meeting ที่องค์กรใช้ เพื่อเน้นเก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บเป็นหลักฐาน จากตัวอย่างเป็นการเก็บข้อมูล Log จาก DNS Traffic จากเครื่องผู้ใช้ที่เรียกใช้ Application MS Teams และ Zoom Meeting จะเห็นว่า ง่ายต่อการตรวจสอบ และใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่า ผู้ใช้ร่วมประชุมในวันเวลาที่กำหนดได้ตามวัตถุประสงค์ พ.ร.บ.


การระบุตัวตนเป็นเรื่องง่าย
การระบุตัวตนหรือ Identify สามารถทำได้ง่าย ทำให้ทราบว่าเป็น Traffic จากเครื่องผู้ร่วมประชุมใด หมายเลข IP, ชื่อเครื่อง, ระบบปฎิบัติการที่ใช้


ครอบคลุมทุก Meeting Application
ทุก Meeting Application จะต้องมี DNS Traffic เสมอ เราจึงเก็บ Log Meeting Traffic ได้ทุก Meeting Application เพื่อเป็นหลักฐาน เช่น Google Hangouts

การจัดเก็บลงบนระบบที่มั่นคงและปลอดภัย
จากข้อกำหนดที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ต้องใช้วิธีการที่มีความมั่นคงปลอดภัยด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server ที่มีระบบกำหนดชั้นความลับ ระบบรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) โดยการทำ Hashing ข้อมูล ดังนั้นเราควรจะเก็บข้อมูล Log ไว้ยัง Centralized Log ที่ได้รับมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน มศอ. ๔๐๐๓.๑-๒๕๖๐ ท่านที่สนใจระบบ Centralized Log ที่ได้รับมาตรฐาน สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Softnix Logger ได้ที่นี่
Summary Report Meeting Activity
นอกจากการจัดเก็บข้อมูล Log Traffic ให้ปลอดภัยเป็นหลักฐานการประชุมตามข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. องค์กรยังสามารถตรวจสอบรายงาน กิจกรรมการประชุม Online เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบ IT ให้ตอบโจทย์การใช้งานในองค์กรได้อีกด้วย

สอบถามขอข้อมูลเพิ่มเติมกับ Softnix
เกี่ยวกับ Softnix
Softnix เราเป็นผู้พัฒนา Softnix Logger ระบบจัดการ Centralized Log ที่ได้รับมาตรฐาน มศอ. ๔๐๐๓.๑-๒๕๖๐ ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบจัดการ Log ตามข้อกำหนด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 นอกจากนั้นเรายังเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ซึ่งครอบคลุมการทำงานหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านระบบความปลอดภัย Cybersecurity, ด้าน Log Management, ด้าน IT Operation Analytics, ด้าน IoT Data และ Data Lake Management รองรับ Data Governance
เอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม
- ดาวน์โหลด “พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563”http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/030/T_0020.PDF?fbclid=IwAR37R-kk1BqAXaV2NmX_kMVjDiCaKIqaLZiUCW4Wuq1vJ4CeBMLWz_MGawM
- ดาวน์โหลด “ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗”http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/246/12.PDF
- https://docs.microsoft.com/en-us/microsoftteams/prepare-network
- https://support.zoom.us/hc/en-us/articles/202342006-Network-Firewall-Settings-for-Meeting-Connector